วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไวน์


ประเทศ ฝรั่งเศส นับว่าเป็นประเทศที่มีการผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงและจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ที่แบ่งออกเป็นอาณาเขตจำนวนมากที่มีการ ปลูกองุ่น ซึ่งแต่ละเขตก็จะมีการผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงและคุณภาพแตกต่างกันออกไป พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสที่แบ่งออกเป็นอาณาเขต ๆ ที่มีการปลูกองุ่นและมีการผลิตไวน์ ได้แก่

- อาณาเขตบอร์โด (Bordeaux)

เป็น อาณาเขตที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ที่มีพื้นที่กว้างมากใช้ปลูกองุ่นและมีการผลิตไวน์ ซึ่งไวน์ที่ผลิตจากอาณาเขตบอร์โดนี้มีชื่อเสียงมากกว่า 2,000 ปีแล้ว ไวน์ที่ผลิตในอาณาเขตนี้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ไวน์ชนิดคลาเร็ท (Claret) หมายถึง ไวน์แดง (Red Wine) ที่ผลิตในเมืองบอร์โดเท่านั้น ส่วนไวน์แดงที่ผลิตในอาณาเขตบอร์โดที่ผลิตจากเมืองอื่น ๆ ไม่ใช่เมืองบอร์โด เราเรียกว่า ไวน์บอร์โด

เนื่อง จากอาณาเขตบอร์โดเป็นอาณาเขตที่มีพื้นที่กว้างมากจึงเป็นสาเหตุให้อาณาเขต บอร์โดถูกแบ่งออกเป็นเขตย่อย ๆ ลงไปอีก 5 เขตใหญ่ ๆ และกับอีก 3 เขตที่มีพื้นที่น้อยกว่า 5 เขตแรก คือ



เขตที่ 1 เขตเมด็อก (Médoc)

เป็น เขตที่อยู่ทางตอนเหนือของอาณาเขตบอร์โด ไวน์ที่ผลิตในเขตนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นไวน์แดง ซึ่งในเขตนี้มีบริเวณที่ผลิตไวน์แดงที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงมากมี อยู่ 4 บริเวณ คือ บริเวณโปอีลัก (Pauillac), บริเวณแซงยือเหลียง (ST.Juluien), บริเวณมาโก (Margaux) และบริเวณแซงเอสเทฟ (ST.Estephe) ไวน์แดงที่มีชื่อเสียงของเขตนี้ได้แก่


1. ชาโต ลาฟีท (Châteua Lafite)

2. ชาโต ลาตรู (Châteua Latour)

3. ชาโต มาโก (Châteua Margaux)

4. ชาโต มูตง (Châteua Mouton)

5. ชาโต พาลเมร์ (Châteua Palmer)



เขตที่ 2 เขตกราว (Graves)

เขต นี้เป็นเขตที่มีความสำคัญรองจากเขตที่หนึ่งเป็นเขตที่อยู่ทางตะวันตกตอนใต้ ของเขตเมด็อก สำหรับไวน์ที่มีการผลิตในเขตนี้นั้นมีทั้งไวน์แดง และไวน์ขาว แต่ไวน์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่ผลิตในเขตนั้นจะเป็นไวน์ขาว ซึ่งไวน์ขาวที่ผลิตในเขตนี้จะถูกเรียกว่า กราวไวน์ และคุณลักษณะของไวน์ที่ผลิตในเขตนั้จะมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับไวน์ที่ ผลิตในเขตเมด็อกมาก สำหรับบริเวณในเขตนี้ที่มีการผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงมีอยู่ประมาณ 3 บริเวณ คือ บริเวณแปซัค (Pessac), บริเวณเลอ๊อกน็อง (L?ognan) และบริเวณมาร์ตีลัก (Martillac) ไวน์แดงและไวน์ขาวที่ผลิตในเขตนี้และมีคุณภาพชื่อเสียงดีได้แก่

1. ชาโต บุลโก (Châteua Bouscaut)

2. ชาโต โอ เบยี (Châteua Haut – Bailly)

3. ชาโต ลาตูร์ โอ บรีออง (Châteua Latour – Haut – Brion)

4. ชาโต ป๊อบ เคลม็อง (Châteua Pape Cl?ment)

5. ชาโต ลาตูร์ มาร์ตัลัก (Châteua Latour – Martillac)

เขตที่ 3 เขตโซแตร์น (Sauternes)

เป็นเขตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขต Graves และมีบริเวณที่มีการปลูกองุ่นและผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงถึง 5 บริเวณด้วยกันคือ บริเวณโซแตร์น (Sauternes), บริเวณบอมม์ (Bommes), บริเวณฟักเกอร์ (Fargues), บริเวณบาร์ซัค (Barsac) และบริเวณเพลออิยัค (Preignac) ไวน์ ที่ผลิตในเขตนี้ที่มีชื่อเสียงมากเป็นไวน์ขาว และไวน์ขาวที่ผลิตในเขตนี้ถือว่าเป็นไวน์ขาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดจนได้ รับสมญานามว่า คิง ออฟ ไวต์ ไวน์ (King of White Wine) ไวน์ ที่ผลิตในเขตนี้มีคุณลักษณะรสชาติหวานและเป็นไวน์ที่มีรสชาติหวานกว่าไวน์ ที่ผลิตจากเขตอื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สำหรับไวน์ที่มีชื่อเสียงที่ผลิตในเขตนี้ ได้แก่

1. ชาโต ดีเคม (Châteua D’Yquem)

2. ชาโต ลาตูร์ บล็อง (Châteua La Tour Blanche)

3. ชาโต คูเต (Châteua Coutet)

4. ชาโต กุยโร (Châteua Guiraud)

5. ชาโต เรียแซก (Châteua Rieussec)

6. ชาโต ลาโมท (Châteua Lamothe)

7. ชาโต เนแร็ค (Châteua Nairac)

8. ชาโต ซูคุยโร (Châteua Suduiraut)

เขตที่ 4 – 5 เขตแซงเออร์มิริอง – เขตปอมรอล (ST.Emilion – Pomerol)

เขต สองเขตนี้อยู่ใกล้กันมาก และเป็นเขตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตบอร์โด เขตทั้งสองนี้มีการผลิตไวน์แดงที่มีชื่อ และเป็นไวน์แดงที่มีลักษณะรสชาติแรงพอสมควร สำหรับไวน์ของทั้งสองเขตนี้ที่มีชื่อเสียง ได้แก่

ไวน์เขตแซงเออร์มิริอง

1. ชาโต โอซ็อง (Châteua Ausone)

2. ชาโต คาน็อง (Châteua Canon)

3. ชาโต เวอวาล บรอง (Châteua Cheval Blanc)

4. ชาโต คูเต (Châteua Coutet)

5. ชาโต เลอ คูวอง (Châteua Le Couvent)

ไวน์เขตปอมรอล

1. ชาโต เพทรูส (Châteua Pètrus)

2. ชาโต ลา เฟลอร์ (Châteua Lafleur)

3. ชาโต ลา ปวง (Châteua Lapointe)

4. ชาโต ลาตูร์ ปอมรอล (Châteua Latour – Pomerol)

5. ชาโต เปอติ วีลาซ (Châteua Petit – Village)

- อาณาเขตเบอร์กันดี (Burgundy)

เป็น อาณาเขตหนึ่งที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีการผลิตไวน์สำหรับเขตที่อยู่ในอาณาเขตนี้ที่มีการปลูกองุ่นและมีการ ผลิตไวน์นั้นมีอยู่ประมาณ 4 เขตด้วยกัน แต่เขตที่มีการผลิตไวน์ได้ดีที่สุดนั้นก็คือ เขตทรูเบอร์กันดี (True Burgundy) ซึ่งทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อเขตโก๊ตดอร์ (Côte D’Or) และเขตนี้จะประกอบด้วยบริเวณสองบริเวณด้วยกันคือ บริเวณโก๊จ เดอ นุย (Côte De Nuits) และบริเวณโก๊ต เดอ โบน (Côte De Beaune)

สำหรับ ไวน์ที่ผลิตจากเขตโก๊ตดอร์ บริเวณโก๊ตดอร์ เอด นุย นั้นจะเป็นไวน์ที่มีลักษณะรสชาติเข้มข้น และมีกลิ่นขององุ่นมาก จะต้องเก็บไว้ให้นานก่อนที่จะนำมาดื่มได้ ส่วนไวน์ที่ผลิตจากบริเวณโก๊ต เดอ โบน นั้นจะมีลักษณะตรงกันข้ามคือ จะมีลักษณะรสชาติไม่เข้มข้นมาก และมีกลิ่นองุ่นหอม เป็นไวน์ที่ไม่ต้องเก้ฐไว้นานนักก่อนที่จะนำมาดื่ม ไวน์ที่ผลิตจากเขตโก๊ตดอร์นี้มักจะถูกเรียกชื่อตามชื่อของบริเวณที่ทำการ ผลิต ไวน์ที่ผลิตในเขตโก๊ตดอร์ที่มีชื่อได้แก่

1. โรมาเน กงตี (Romanèe – Conti)

2. โกล เอด วูชัว (Clos De Vougeot)

3. โกล เดอ แตร์ (Clos De Tart)

4. วอลเนย์ (Volnay)

5. เล มูซินิก (Les Musigny)

6. โกล เด ลอมแบร์ (Clos Des Lambray)

7. เล แซง ชอกเชอร์ (Les Saint Georges)

8. เลอ กอร์ตอง (Le Corton)

9. โกล ดู รัว (Clos Du Roi)

10. เล รูเชียง บาส (Les Rugiens – Bas)

ใน อาณาเขตเบอร์กันดี จอกจากจะมีเขตโก๊ตดอร์ที่มีการปลูกองุ่นและทำการผลิตไวน์ ยังมีอีกเขตหนึ่งที่มีการปลูกองุ่นและผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงมากก็คือ เขตชาบลี (Chablis) เป็น เขตที่มีการผลิตไวน์และไวน์ที่ผลิตจากเขตนี้มักถูกเรียกชื่อตามบริเวณที่มี การไวน์ชนิดนี้ ไวน์ที่ผลิตจากเขตชาบลีนั้นจะมีคุณลักษณะเฉพาะตัวคือ มีรสชาติจืด นุ่ม และมีสีลักษณะสีทอง สำหรับไวน์ที่ผลิตขากเขตชาบลีที่มีชื่อเสียงมากได้แก่

1. เล โกล (Les Clos)

2. โวเดซีล์ (Vaudésir)

3. วาลมูร์ (Valmur)

4. บรองโช (Blanchots)

5. บูโกส (Bougros)

การจัดลำดับชั้นของไวน์ฝรั่งเศส


ไวน์ฝรั่งเศสทั้งแดง ขาว และโรเซ่ ไวน์ประเภทมีฟอง หรือ ประเภทหวานมาก,หวานน้อย,ไม่หวาน, ดราย
มีระดับแอลกอฮอล์ต่างๆ ตั้งแต่ 8–14 ดีกรี และสูงกว่า ทุกชนิดจัดแบ่งตามมาตรฐาน คุณภาพโดยทางการฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ



1. Appellation d’ Origine Controlee – AOC (อัปเปอลาซิยง ดอริจิ้น กงโทลเล่)

ไวน์ ผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพมาตรฐานกรรมวิธีการผลิตอย่างเข้มงวดกวดขัน ละเอียดถี่ถ้วน รวมไปถึงการควบคุมสายพันธุ์องุ่น การปลูก ปริมาณการผลิต ทำเล และขนาดของไร่องุ่น ฯลฯ โดยกฎหมายและทางการฝรั่งเศส ตลอดจนองค์กรอื่นๆ เช่น Institute National des Appellation d’ Origine – NAO สถาบันแห่งชาติ ทำการควบคุมดูแลตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ และคุณภาพไวน์อย่างจริงจังอย่างต่อเนื่อง เพราะฝรั่งเศส ถือว่าอุตสาหกรรมไวน์ และไวน์ฝรั่งเศสทุกขนานเป็นภูมิฐาน ความมีศักดิ์ศรี ความหยิ่งผยอง ทรนง ความภาคภูมิใจของชาติที่เป็นเครื่องเชิดหน้าชูตา อันสง่างาม เป็นตัวแทนของประเทศสมกับที่ได้รับการยกย่อง สรรเสริญได้รับความไว้วางใจ ได้รับความนิยมชมชอบจากชาวโลกผู้รักไวน์ทั้งหลายเสมอมา



2. Vin Delimite de Qualite Superieure – VDQS (แว็ง เดอลิมิตเต้ เดอ กาลิเต้ ซุปเปริเยอร์)

ไวน์ผลิตภายใต้การควบคุมกฎเกณฑ์กรรมวิธีการผลิตให้ได้มาตรฐานคุณภาพตามที่ทางการฝรั่งเศสกำหนดเข้มงวดกว่า Vin de Pays ระดับหนึ่ง



3. Vin de Pays (แว็ง เดอ เปอี)

ไวน์ระดับคุณภาพมาตรฐานถูกควบคุมโดยทางการฝรั่งเศส แต่ไม่เข้มงวดมากนัก มีการควบคุมแหล่งผลิต ทำเล และขนาดของไร่องุ่น Origin ตลอดจนมารตรฐานคุณภาพขั้นพื้นฐาน Basic Quality ของไวน์นั้นอย่างไม่เป็นทางการ ระบบการควบคุมที่ยืดหยุ่นนี้ เปิดโอกาสให้ชาวไร่องุ่น Growers สามารถทำการทดลองผลิตไวน์นานาชนิด รสชาติแปลกใหม่ด้วยการผสมองุ่นสายพันธุ์ต่างๆ ในอัตราส่วนไม่ซ้ำซ้อน ด้วยกรรมวิธีใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างอิสระ เพื่อคนรักไวน์จะได้มีโอกาสได้ลิ้มชิมรสไวน์ ที่น่าตื่นเต้นขนานแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไวน์ระดับนี้มีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่า Vin de Table ชนิดตั้งโต๊ะ และไวน์คุณภาพดีบางตัวจากระดับนี้ อาจจะมีโอกาสได้ขึ้นชั้นมาอยู่ในระดับ AOC ได้ด้วย


4. Vin de Table (แว็ง เดอ ตาบเบลอ)

ไวน์ระดับคุณภาพต่ำใช้ดื่มแทนน้ำ ประเภทตั้งโต๊ะ ไม่มีการควบคุมมาตรฐานโดยทางการ แต่อย่างไรชาวไร่องุ่น Growers และเจ้าของโรงงานผลิตไวน์ Winery สามารถผลิตไวน์นี้ออกมาอย่างอิสระ

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อาเซียน10ประเทศ

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations ประกอบด้วย 10 ประเทศ

ซึ่งวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ

การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

ยิ่งใกล้ AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้ามาทุกที แต่ละประเทศ ก็จะมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ลองมาทำความรู้จักกับ 10 ประเทศอาเซียน

1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)




บรูไน เป็นประเทศที่ตลาดเปิดแบบเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศ จะมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และนับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และมีสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นสินค้าประเภท เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 บรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์

          ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
2.กัมพูชา (Cambodia)


กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน

          ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา เป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ
3.อินโดนีเซีย (Indonesia)


ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่

นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
 10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี

          ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

4.ลาว (Laos)



ประเทศลาว มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง ลาว จีน ไทย เวียดนาม ด้วยภาคผลิตการเกษตร ป่าไม้

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) : ดอกจำปาลาว

          ดอกไม้ประจำชาติลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
5.มาเลเซีย (Malaysia)

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง

          ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย เป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ

โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐบาล

6.พม่า (Myanmar)


อาชีพหลักของ ประชาชนในประเทศ จะเป็นการเกษตรกร เช่น การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ อุตสาหกรรม พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่

          ดอกไม้ประจำชาติพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)


ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และมีการกระจายรายได้โดยไม่เท่าเทียมกัน และยังประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง ฟิลิปินส์ มีสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว

          ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน
8.สิงคโปร์ (Singapore)


สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า

          ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ คือ ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)
9.เวียดนาม (Vietnam)



สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว

          ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม เป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ" เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง
10.ประเทศไทย (Thailand)


ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ

นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์

          ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น