วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

สัญลักษณ์ไซเตส
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อังกฤษConvention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส (CITES) และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
ในปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 181 รัฐ (ณ พฤษภาคม 2558)
เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ ไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น (Native Species)
การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) นำผ่าน (Transit) และส่งกลับออกไป (Re-Export) โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1, 2, 3 (Appendix I, II, III) ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

รีโอเดจาเนโร

รีโอเดจาเนโร (โปรตุเกสRio de Janeiroเสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈriːoʊ deɪ dʒəˈnɛəroʊ/) หรือ รีอูจีฌาเนย์รู (เสียงอ่านภาษาโปรตุเกสสำเนียงบราซิล: [ˈʁi.u dʒi ʒaˈnejɾu]) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า รีโอ (Rio) เป็นเมืองหลวงของรัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลโดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาดกอปากาบานา (Copacabana) และอีปาเนมา (Ipanema) เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล และรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ กริชตูเรเดงโตร์ บนยอดเขากอร์โกวาดู
รีโอ เดอจาเนโร
Rio de Janeiro
เทศบาลนคร
Município do Rio de Janeiro
เทศบาลนครรีโอเดจาเนโร
รูปปั้นพระเยซูกริชตูเรเดงโตร์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองรีโอเดจาเนโร
รูปปั้นพระเยซูกริชตูเรเดงโตร์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองรีโอเดจาเนโร
ธงของรีโอ เดอจาเนโร
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของรีโอ เดอจาเนโร
ตรา
สมญา: Cidade Maravilhosa ("เมืองมหัศจรรย์") หรือ ริโอ
ตำแหน่งในรัฐรีโอเดจาเนโร
ตำแหน่งในรัฐรีโอเดจาเนโร
รีโอ เดอจาเนโร is located in บราซิล
รีโอ เดอจาเนโร
รีโอ เดอจาเนโร
ตำแหน่งในประเทศบราซิล
พิกัดภูมิศาสตร์: 22°54′30″S 43°11′47″W / 22.90833°S 43.19639°W
ประเทศ บราซิล
รัฐBandeira do estado do Rio de Janeiro.svg รัฐรีโอเดจาเนโร
ก่อตั้งเมื่อ1 มีนาคม ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108)
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีเอดูอารโด พาแอส(PMDB)
พื้นที่
 • เทศบาลนคร[[1 E+ข้อผิดพลาดนิพจน์: "," เป็นอักขระที่ไม่รู้จัก_m²|1,260 ตร.กม.]] (486.5 ตร.ไมล์)
 • เขตมหานคร4,557 ตร.กม.(1,759.6 ตร.ไมล์)
ความสูงตั้งแต่ 0 ถึง 1,021 เมตร (ตั้งแต่ 0 ถึง 3,349 ฟุต)
ประชากร (2010)
 • เทศบาลนคร6,323,037
 • ความหนาแน่น4,781 คน/ตร.กม. (12,380 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตมหานคร14,387,000
เดมะนิมcarioca
เขตเวลาBST (UTC-3)
 • ฤดูร้อน
(เวลาออมแสง)
BDT (UTC-2)
รหัสไปรษณีย์20000-000
รหัสพื้นที่+55 21
เว็บไซต์City of Rio de Janeiro
รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ละติจูด 22 องศา 54 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก ((6,150,000) 22°54′S 43°14′W / 22.900°S 43.233°W) รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (พ.ศ. 2547) และพื้นที่ 1,256 กม² (485 ไมล์²) และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศบราซิลรองจากเซาเปาลู (São Paulo) รีโอเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศบราซิล ก่อนที่เมืองบราซิเลียจะเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)
รีโอเดจาเนโรได้รับเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้เป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31ประจำปีคริสต์ศักราช 2016 (พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเขตทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่มีการริเริ่มแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นต้นมา

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียมฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า